โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่พบในสัตว์ป่าตระกูลลิงและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ เช่น หนูและกระรอก โรคนี้เป็นโรคที่หายากในคน แต่สามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ติดเชื้อหรือผ่านละอองฝอยจากการไอหรือจามของผู้ที่ติดเชื้อ ฝีดาษลิงมีลักษณะอาการที่คล้ายกับโรคฝีดาษ (Smallpox) แต่มีความรุนแรงน้อยกว่า หลังองค์การอนามัยโลกประกาศให้โรคเอ็มพอกซ์ (Mpox) ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสฝีดาษลิง กลายเป็นภาวะฉุกเฉินระดับสากล ล่าสุดประเทศไทยผู้ป่วยสงสัยรายแรก ระบุว่าผู้ป่วยรายนี้เป็นชาวยุโรป เดินทางมายังประเทศไทยเมื่อวันที่ 14 ส.ค. ที่ผ่านมาในช่วงเวลาประมาณหกโมงเย็น และมีประวัติว่าเดินทางมาจากประเทศแถบแอฟริกา ซึ่งกำลังมีการระบาดของโรคฝีดาษลิง สายพันธุ์ 1b โดยระหว่างเดินทางได้ไปต่อเที่ยวบินที่ประเทศหนึ่งในแถบตะวันออกกลางด้วย
“แต่เนื่องจากทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้ฝีดาษวานรสายพันธุ์ 1b เป็นสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวัง ก็อาจมีผลกระทบได้ จึงเป็นการตอบสนองของประเทศไทยต่อสิ่งที่ WHO ประกาศไว้” อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุ พร้อมกับยืนยันว่าโรคนี้ไม่ได้แพร่กระจายง่ายเหมือนกับโรคโควิด-19 สำหรับโรคฝีดาษลิงสายพันธุ์ 1b ที่พบในไทยจนถึงตอนนี้พบว่าสาเหตุมักเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ ส่วนผู้เสียชีวิตมักมีเชื้อเอชไอวี (HIV) ร่วมด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง แต่โดยปกติแล้วโรคนี้สามารถหายได้เอง ยกเว้นว่าผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิต อาการของโรคฝีดาษลิงจะปรากฏหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 5-21 วัน โดยอาการหลักๆ ได้แก่ ไข้สูง, ปวดหัว,ปวดกล้ามเนื้อ,ปวดหลัง,หนาวสั่น,ต่อมน้ำเหลืองบวม,ผื่นขึ้นตามตัว โดยผื่นนี้มักจะเปลี่ยนเป็นตุ่มหนองและมีลักษณะเป็นฝีดาษ อาการเหล่านี้มักจะคงอยู่ประมาณ 2-4 สัปดาห์ และผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายดีเองโดยไม่ต้องรับการรักษาพิเศษ แต่ในบางกรณีอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
วิธีการป้องกันโรคฝีดาษลิง
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ที่ติดเชื้อ: ไม่ควรสัมผัสกับสัตว์ป่าที่อาจเป็นพาหะของเชื้อ เช่น ลิง หนู หรือกระรอก และไม่ควรกินเนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านการปรุงสุก
- รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล: ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำสะอาด หรือน้ำยาฆ่าเชื้อแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะหลังจากสัมผัสกับสัตว์หรือสิ่งของที่อาจปนเปื้อนเชื้อ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ที่มีอาการ: ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ที่มีอาการคล้ายฝีดาษลิง หรือสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย หรือน้ำเหลืองจากผื่นหรือตุ่มหนอง
- ฉีดวัคซีน: ในบางกรณี การฉีดวัคซีนฝีดาษอาจช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อฝีดาษลิงได้ เนื่องจากวัคซีนฝีดาษสามารถป้องกันการติดเชื้อโรคฝีดาษลิงได้ในระดับหนึ่ง
- ใช้หน้ากากและถุงมือ: หากต้องดูแลผู้ที่ติดเชื้อ ควรใช้หน้ากากอนามัยและถุงมือเพื่อป้องกันการสัมผัสกับเชื้อ
- ประชาสัมพันธ์: แจ้งข่าวสาร ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิง ให้ประชนชนรับรู้เหตุกาณ์ และวิธีการป้องกันล่วงหน้า
- ระบบท้องถิ่นอัจฉริยะของชุมชน: สามารถช่วยให้หน่วยงานเข้าแก้ไขปัญหาและแจ้งข่าวสารที่รวดเร็วให้กับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
การรักษาโรคฝีดาษลิง
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาเฉพาะสำหรับโรคฝีดาษลิง แต่การดูแลผู้ป่วยมักจะเน้นที่การบรรเทาอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อน การให้ผู้ป่วยพักผ่อนและดื่มน้ำมากๆ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นในร่างกายเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้ การดูแลรักษาผื่นและตุ่มหนองอย่างถูกวิธีจะช่วยลดการติดเชื้อซ้ำซ้อนและเพิ่มโอกาสการฟื้นตัวของผู้ป่วย การตระหนักถึงความเสี่ยงและได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิงจึงเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างมาก ประชาชนควรได้รับคำแนะนำที่ครอบคลุม รวมถึงให้ประชาชนปฏิบัติตามวิธีการป้องกันที่เหมาะสมจะช่วยลดโอกาสการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงได้อย่างมาก.