นับตั้งแต่ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณน้ำฝนเพิ่มอย่างมากทั่วประเทศ อัตราการกักเก็บน้ำในเขื่อนหลักในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและอ่างเก็บน้ำในบริเวณภาคตะวันออกมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีความจำเป็นต้องจับตาดูปริมาณการกักเก็บน้ำและการปล่อยน้ำที่อาจเพิ่มขึ้นในอนาคตในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกของประเทศไทย ปริมาณฝนสะสมได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ต้นฤดูฝน ส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนสะสมสูงกว่าปกติ โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกตั้งแต่ช่วงกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคมมีรายงานเหตุการณ์น้ำท่วม เช่น น้ำท่วมฉับพลันหลายครั้ง จึงมีความจำเป็นต้องเฝ้าระวัง และ อัพเดทสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อแจ้งเตือนประชาชน ในพื้นที่น้ำท่วมในบริเวณใกล้เคียงกับแม่น้ำ, คลองหรือในพื้นที่ราบลุ่มจนถึงช่วงสิ้นสุดฤดูฝน  

ล่าสุด แม่สอดวิกฤติ หลัง “แม่น้ำเมย” ล้นตลิ่ง เอ่อเข้าท่วมพื้นที่ชาวบ้าน 2 ฝั่งชายแดน ประชาชนริมน้ำ เร่งอพยพ ต้องหาวัสดุมาใช้แทนเรือชั่วคราว วันที่ 11 ก.ย. 67 มีรายงานว่า พื้นที่ 5 อำเภอแนวชายแดน จังหวัดตาก ได้เกิดพายุฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องนาน 3 วัน 3 คืน ทั่วพื้นที่แนวชายแดนไทย-เมียนมา และตกแบบถล่มปูพรมทั่วพื้นที่ 5 อำเภอแนวชายแดนจังหวัดตาก โดยเฉพาะที่ชายแดนอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มวลน้ำมหาศาลได้ไหลล้นตลิ่งสองฝั่งริมแม่น้ำเมย สถานการณ์แม่น้ำเมยล้นตลิ่งยังคงวิกฤติ และเป็นน้ำท่วมรอบที่สองในรอบหนึ่งเดือน และมวลน้ำยังขยายวงกว้างท่วมทั้งบ้านเรือนประชาชน และท่วมพื้นที่ทางการเกษตรเสียหายเป็นวงกว้าง ถ้าหากไม่มีการรับมือด้านอุทกภัย อาจทำให้เกิดความเสียหายมากยิ่งขึ้นในอนาคต

  1. ติดตามข่าวสารจากกรมอุตุนิยมวิทยา รวมทั้งสัญญาณเตือนความผิดปกติต่าง ๆ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน
  2. การแจ้งเตือนประชาชน ให้ข้อมูลข่าวสาร ก่อนการเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม 
  3. จัดเตรียมน้ำสะอาด อาหารสำเร็จรูป หรือยาที่จำเป็น เช่น ยาแก้ปวด ลดไข้ ยาหยอดตา ยาใส่แผล ผงเกลือแร่ ยารักษาโรคประจำตัว ให้เพียงพอต่อการยังชีพได้อย่างน้อย 3-5 วัน
  4. แจ้งหมายเลขโทรศัพท์เพื่อขอความช่วยเหลือกรณีฉุกเฉิน โดยแจ้งผ่านทางระบบท้องถิ่นอัจฉริยะ เพื่อให้ประชาชนร้องขอความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น  เช่น 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ,1784 สายด่วนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย,1422 สายด่วนกรมควบคุมโรค
  5. ศึกษาแนวทางการอพยพและแผนปฏิบัติกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินของหมู่บ้าน หรือชุมชน โดยใช้แอปพลิเคชั่นเพื่อให้เข้าถึงประชาชน ได้อย่างรวดเร็วมากที่สุด 
  6. หากมีสัตว์เลี้ยง ควรเตรียมแผนอพยพสัตว์เลี้ยงให้อยู่ในที่ปลอดภัย พร้อมอาหารที่จำเป็น
  7. เตรียมความพร้อมด้านระบบไฟฟ้าภายในบ้าน หรือระบบไฟสำรองรวมทั้งถุงบรรจุทรายเพื่อป้องกันน้ำท่วมหากจำเป็น
  8. จัดเตรียมอุปกรณ์เสริมที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น ไฟฉาย แบตเตอรี่สำรอง โทรศัพท์มือถือ กรณีการติดต่อขอรับความช่วยเหลือฉุกเฉิน

สรุป การรับมือและเฝ้าระวังเหตุการณ์น้ำท่วมผ่านระบบท้องถิ่นอัจฉริยะทำให้ประชาชนและหน่วยงานสามารถตั้งรับกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที ลดความเสี่ยงการสูญเสีย หลังเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ในชุมชน และสามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างรวดเร็ว หากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลัน หรือน้ำป่าไหลหลาก

เว็บไซต์ของเรามีการจัดเก็บคุกกี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น กรุณาอ่าน นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy)

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้การวิเคราะห์

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เก็บสถิติของเว็บไซต์เท่านั้น เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า